วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

งานประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีปพันดวง จังหวัดตาก




งานประเพณีลอยกระทงสาย ไหลประทีป 1,000 ดวง จังหวัดตากวันที่ 8 - 12 พฤศจิกายน 2551
ณ บริเวณแม่น้ำปิง ริมสายธารลานกระทงสาย เชิงสะพานสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี อำเภอเมือง จังหวัดตาก

ประเพณีลอยกระทงสาย ของจังหวัดตาก เป็นประเพณีที่นำเอาพระพุทธศาสนา ภูมิปัญญาชาวบ้าน งานศิลปวัฒนธรรมมาหล่อหลอมรวมกันจนเป็นรูปแบบที่โดดเด่นปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นเวลาช้านาน ซึ่งจะแตกต่างจากจังหวัดอื่นเพราะส่วนประกอบของกระทงที่ใช้กะลามะพร้าว ประกอบกับแม่น้ำปิงที่ไหลผ่านจังหวัดตากจะมีสันทรายใต้น้ำทำให้เกิดเป็นร่องน้ำที่สวยงามตามธรรมชาติ เมื่อนำกระทงลอยกระทงจะไหลไปตามร่องน้ำดังกล่าวเกิดเป็นสายยาวต่อเนื่องของกระทงทำให้แสงไฟของกระทงส่องแสงระยิบระยับเป็นสายยาวตามความยาวของร่องน้ำมีความสวยงามมาก จึงได้มีการพัฒนารูปแบบจากการลอยในชุมชนมาเป็นการแข่งขันลอยกระทงสาย โดยได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ พระราชทานถ้วยรางวัลสำหรับผู้ชนะเลิศเป็นประจำทุกปี และยังได้รับพระราชทานพระประทีปจากพระบรมวงศานุวงศ์รวม 10 พระองค์ มาลอยเป็นปฐมฤกษ์ในการจัดงาน


สำหรับการจัดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวงนี้จะแตกต่างจากจังหวัดอื่นอีกประการหนึ่งคือ ก่อนที่จะมีการแข่งขันลอยกระทงสาย 1 วัน จะต้องนำกระทงขนาดใหญ่ที่เรียกว่ากระทงนำพร้อมกระทงกะลา และกระทงปิดท้าย ซึ่งประดิษฐ์อย่างวิจิตรงดงามออกมาแห่ โดยมีผู้ร่วมขบวนแห่จำนวน 100 คน แต่งกายอนุรักษ์วัฒนธรรมไทย ซึ่งถือว่าเป็นการเตรียมความพร้อมเพื่อแข่งขันในวันต่อไป

ในการแข่งขันลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง ในแต่ละสายจะต้องประกอบด้วย
1. กระทงนำ เป็นกระทงขนาดใหญ่ที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 1.50 - 2.50 เมตร ประดิษฐ์ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบตอง ดอกไม้สดที่เย็บเป็นรูปแบบต่างๆ แล้วจึงนำมาประกอบเป็นรูปกระทง ภายในกระทงต้องมีผ้าสบง เครื่องกระยาบวช หมากพลู ขนม สตางค์ ธูป เทียน ฯลฯ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ประยุกต์มาจากแพผ้าป่าน้ำในสมัยโบราณ ส่วนรอบกระทงจะประดับด้วยไฟเพื่อให้เกิดแสงสว่างสวยงาม ก่อนจะนำลงรอยต้องทำพิธีจุดธูปเทียน กล่าวคำขอขมาเป็นการบูชาพระแม่คงคาและพระพุทธเจ้า พร้อมถวายผ้าป่าน้ำแด่พระภิกษุสงฆ์ แล้วจึงลอยเป็นอันดับแรก

2. กระทงกะลา ใช้กะลามะพร้าวจำนวน 1,000 ใบ นำมาขัดถูให้สะอาดทั้งภายในและภายนอก ตกแต่งลวดลายอย่างสวยงาม ภายในกะลาใส่ด้ายดิบที่ฝั่นเป็นรูปตีนกา แล้วหล่อด้วยเทียนขี้ผึ้งซึ่งนำมาจากเทียนจำนำพรรษาที่พระสงฆ์ได้จุดเพื่อทำพิธีสวดมนต์ในโบสถ์วิหารตลอดสามเดือน หลังจากออกพรรษาชาวบ้านจะนำเทียนเหล่านั้นมาหลอมละลายด้วยความร้อนหล่อลงในกะลาที่มีด้ายรูปตีนกา สำหรับเป็นเชื้อเพลิงจุดไฟก่อนที่จะปล่อยลงลอย แลดูเป็นสายสวยงามและมีไฟส่องแสงระยิบระยับจนสุดสายตา ซึ่งถือว่าเป็นของศักดิ์สิทธิ์และเป็นสิริมงคลแก่ผู้ที่นำกระทงกะลาทุกดวงมาลอยในแม่น้ำปิง

3. กระทงปิดท้าย มีลักษณะคล้ายกระทงนำแต่มีขนาดเล็กกว่า ประดิษฐ์ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยใบตองและดอกไม้สด ลอยปิดท้ายหลังจากลอยกระทงกะลาครบ 1,000 ใบ พร้อมทั้งมีสัญลักษณ์ให้ทราบว่าได้สิ้นสุดการลอยของสายกระทงนั้นแล้ว
4. การเชียร์ ในขณะที่ทำการลอยกระทงสายอยู่นั้นจะมีกองเชียร์ร่วมร้องรำทำเพลงอย่างสนุกสนานครื้นเครอง เป็นการให้กำลังใจแก่ผู้ที่ทำการลอย ซึ่งการแสดงเหล่านี้มีรูปแบบที่เป็นระบบภายใต้กรอบที่กำหนด คือมีผู้แสดงไม่น้อยกว่า 80 คน แต่งกายแสดงถึงวัฒนธรรมประเพณีไทย เพลงที่นำมาร้องมีเนื้อหาสอดคล้องกับประเพณีไทยหรือวิถีชีวิตของชุมชน ดนตรีที่นำมาบรรเลงต้องใช้เครื่องดนตรีไทยทั้งหมดและจะต้องใช้กะลาเป็นส่วนประกอบของการแสดงอย่างน้อย 1 ชุด ซึ่งการแสดงทั้งหมดใช้เวลาไม่เกิน 30 นาที

กิจกรรมภายในงาน
- สัมผัสบรรยากาศและร่วมเชียร์การแข่งขันประกวดกระทงสายชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
- ชมขบวนแห่อัญเชิญพระประทีปพระราชทานของพระบรมวงศานุวงศ์ 10 พระองค์ ขบวนแห่ถ้วยพระราชทาน และขบวนแห่กระทงสายประจำปี 2551 ยิ่งใหญ่ตระการตา ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551
- ชมพิธีเปิดงานประเพณีลอยกระทงสายไหลประทีป 1,000 ดวง พร้อมการแสดง "ตำนานกระทงสาย" ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551
- ชมการลอยกระทงสายยาวที่สุด ยิ่งใหญ่ตระการตามากถึง 80,000 ดวง ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551
- ชมการประกวดกระทงใหญ่ กระทงผ้าป่าน้ำ กระทงตาม และกระทงปิดท้าย การประกวดการเชียร์ที่สวยสดงดงาม ในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2551
- ชมการแข่งขันปล่อยกระทงสายชิงถ้วยพระราชทานพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และการเชียร์แต่ละชุมชนบนเวทีกลางลำน้ำปิงอย่างยิ่งใหญ่ตระการตา ระหว่างวันที่ 8 - 12 พฤศจิกายน 2551
- ชมการประกวดธิดากระทงสาย วันที่ 8 พฤศจิกายน 2551
- การแสดงทางวัฒนธรรมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง
- การจำหน่ายสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ระหว่างวันที่ 5 - 12 พฤศจิกายน 2551
- การประกวดศิลปหัตถกรรมของนักเรียน การประกวดเพลงพื้นบ้านเกี่ยวกับกระทงสาย และการแสดงมหรสพต่างๆ
สอบถามรายละเอียด เทศบาลเมืองตาก โทรศัพท์ 0 5551 8888
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานตาก โทรศัพท์ 0 5551 4341-3

วันพุธที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ (ลอยกระทงเชียงใหม่)




งานประเพณียี่เป็งเชียงใหม่ วันที่ 11 - 13 พฤศจิกายน 2551 ณ จังหวัดเชียงใหม่
“สืบฮีต สานฮอย ต๋ามโคมผ่อกอย ยี่เป็งล้านนา”
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงใหม่ ร่วมกับ เทศบาลนครเชียงใหม่ กำหนดจัดงาน “ประเพณีเดือนยี่เป็งเชียงใหม่” “สืบฮีต สานฮอย ต๋ามโคมผ่อกอย ยี่เป็งล้านนา” หรือ Chiang Mai “Yee Peng” (Loy Krathong Festival) ขึ้น ระหว่างวันที่ 11-13 พฤศจิกายน 2551 ตั้งแต่เวลา 18.30 – 22.00 น. โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว กระตุ้นเศรษฐกิจ และเสริมสร้างภาพลักษณ์ของเชียงใหม่ให้เป็นเมืองแห่งศิลปวัฒนธรรม ทำให้เกิดพัฒนาการทางด้านความผสมผสานระหว่างดนตรีล้านนากับดนตรีสากล อีกทั้งยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสกับเยาวชนในเขตจังหวัดภาคเหนือได้แสดงความสามารถในด้านดนตรี และศิลปวัฒนธรรมภายในงานอีกด้วย

กิจกรรมภายในงานแบ่งเป็น 2 ส่วน ดังนี้คือ

1. กิจกรรมการแสดง “มหกรรมคีตการล้านนา...สู่สากล”
การแสดงคีตการล้านนา... สู่สากล เป็นการแสดงศักยภาพทางด้านดนตรีพื้นเมือง ที่สามารถเล่นผสมผสานกับเครื่องดนตรีสากล โดยใช้นักแสดงพื้นบ้าน เยาวชน ลูกหลานของคนท้องถิ่น สะท้อนถึงวิถีชีวิตของคนทางภาคเหนือ ที่มีวิถีในการดำรงชีวิตที่เรียบง่าย รักสงบ และมีการแสดงออกทางด้านดนตรี ในงานรื่นเริงต่างๆ ตามเทศกาล และประเพณีของชาวล้านนา กิจกรรมการแสดง มีดังนี้

วันที่ 11 พฤศจิกายน 2551 ชื่นชมกับความสามารถของนักดนตรีพื้นบ้าน ในรูปแบบของการแสดง “ล้านนาวาไรตี้” ควบคุมการแสดงโดย ครูแอ๊ด ภานุทัต ฟังการบรรเลง ดนตรีพื้นเมือง สะล้อ ซอ ซึง กับนักแสดงกว่า 80 ชีวิต พร้อมสอดแทรกศิลปวัฒนธรรมล้านนา

วันที่ 12 พฤศจิกายน 2551 ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรมล้านนา เต็มรูปแบบ จากวิทยาลัยนาฏศิลป์เชียงใหม่ เล่าขานตำนานล้านนา

วันที่ 13 พฤศจิกายน 2551 ม่วนใจ๋ไปกับศิลปินพื้นเมืองจากหลากหลายสาขา ในรูปแบบของ “ลูกทุ่งล้านนา” โดยคุณวิทูรย์ ใจพรม และวงดนตรีลูกทุ่งวงใหญ่ คุณเทิดไทย ชัยนิยม พร้อมดาวตลก ครบทีม

2. กิจกรรมการสาธิต “ลอยกระทงย้อนเวลา....หาวิถีล้านนาไทย”
เป็นการรวบรวมเอาวิถีชีวิตของชาวล้านนาในอดีตมานำเสนอ ในรูปแบบของบ้านแบบล้านนา มีการตกแต่งสถานที่ ให้ย้อนไปสู่อดีต และการปลูกจิตสำนึกให้ประชาชน เยาวชนที่ได้มาร่วมงานให้คำนึงถึงความสำคัญของวัฒนธรรม และประเพณีเดือนยี่เป็งของชาวล้านนาโดยมีการสาธิตแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลักคือ

กิจกรรมสาธิตการทำอาหารคาว-หวาน ของล้านนา
กิจกรรมสาธิตหัตถกรรมล้านนาที่นิยมทำในวันยี่เป็ง
กิจกรรมการแสดงและจำหน่ายสินค้าหัตถกรรม ของที่ระลึก อาหารล้านนา ในรูปแบบของกาดหมั้วคัวแลง

สอบถามรายละเอียดเทศบาลนครเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5325 5478, 0 5323 3178การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานเชียงใหม่ โทรศัพท์ 0 5324 8604, 0 5324 8607

เทศกาลและงานประเพณี ลอยกระทง

เทศกาลและงานประเพณี

สีสันแห่งสายน้ำ มหกรรมลอยกระทง

(สัมผัสจริงกับการท่องเที่ยวทางสายน้ำ และสีสันแห่งเรืออาหาร ร้านอาหาร โรงแรม ริมสายน้ำเจ้าพระยายามราตรี ตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน 2551)วันที่ 9 - 12 พฤศจิกายน 2551บริเวณแม่น้ำเจ้าพระยา (สะพานกรุงเทพ-สะพานกรุงธน) กรุงเทพมหานครกิจกรรมชมฟรี ขบวนเรือประดับไฟฟ้า “สายน้ำสายวัฒนธรรม” และขบวนเรือประเพณีลอยกระทง ชิงเงินรางวัลกว่า 1,500,000 บาท ระหว่างวันที่ 8-12 พฤศจิกายน 2551 เวลา 19.30-22.00 น. บริเวณริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา สะพานกรุงเทพถึงสะพานกรุงธน กรุงเทพมหานคร
สัมผัสบรรยากาศพิเศษสุดของงานลอยกระทงในแบบฉบับกรุงรัตนโกสินทร์ ระหว่างวันที่ 10-12 พฤศจิกายน 2551 เวลา 18.30-21.30 น. ณ บริเวณสวนสันติชัยปราการ กรุงเทพมหานคร อิ่มอร่อยกับอาหารนานาชนิด ชมขบวนเรือประดับไฟฟ้าในมุมมองที่ดีที่สุด ดื่มด่ำกับการแสดงศิลปวัฒนธรรม บรรยากาศตลาดย้อนยุค

ท่องเที่ยวทางน้ำตามรอยพระราชอาคันตุกะ และไหว้พระ 9 วัด ชมสีสันของแม่น้ำเจ้าพระยายามค่ำคืนกับสมาคมเรือไทย ร้านอาหาร โรงแรม ริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตลอดทั้งเดือนพฤศจิกายน 2551 พบกับโปรแกรมพิเศษสุดสอบถามรายละเอียดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กองสร้างสรรค์กิจกรรม
โทรศัพท์ 0 2250 5500 ต่อ 3470-8TAT Call Center 1672



วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

เพลง กระทงหลงทาง (ลอยกระทง)


เพลง กระทงหลงทาง

ใครที่ผิดหวังกับความรัก วันลอยกระทง ต้องฟังครับ

เพลง ลอยกระทง คาราโอเกะ ลอยกระทง Loy Krathong Festival



"เพลง รำวงวันลอยกระทง"

วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิง
สนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว
ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ

เนื้อ เพลง ลอยกระทง ภาษาอังกฤษ



เนื้อเพลงลอยกระทง ภาษาอังกฤษ

Loy Krathong
Loy Krathong
And the water is high
In the gold river and the Klong
Loy Loy Krathong
Loy Loy Krathong
Loy Krathong is here
And everybody’s full of cheer
We're together at the Klong
Each one floats his Krathong
in the river and we pray
We can see a better day

ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง

ความเชื่อเกื่ยวกับวันลอยกระทง

เป็นการขอขมาพระแม่คงคา ที่มนุษย์ได้ใช้น้ำ ได้ดื่มกินน้ำ รวมไปถึงการทิ้งสิ่งปฏิกูลต่างๆ ลงในแม่น้ำ เป็นการสักการะรอยพระพุทธบาท ที่พระพุทธเจ้าทรงได้ประทับรอยพระบาทไว้หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ในประเทศอินเดีย เป็นการลอยความทุกข์ ความโศกรวมถึงโรคภัยต่างๆ ให้ลอยไปกับแม่น้ำ ชาวไทยในภาคเหนือมีความเชื่อว่า การลอยกระทงเป็นการบูชาพระอุปคุต ตามตำนานเล่าว่า พระอุปคุตทรงสามารถปราบพญามารได้

วันจันทร์ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ประวัติ ลอยกระทง

ประวัติ ลอยกระทง

เดิมเชื่อกันว่าประเพณีลอยกระทงเริ่มมีมาแต่สมัยสุโขทัย ในรัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง โดยมีนางนพมาศ เป็นผู้ประดิษฐ์กระทงขึ้นครั้งแรก โดยแต่เดิมเรียกว่าพิธีจองเปรียง ที่ลอยเทียนประทีป และนางนพมาศได้นำดอกโคทม ซึ่งเป็นดอกบัวที่บานเฉพาะวันเพ็ญเดือนสิบสองมาใช้ใส่เทียนประทีป แต่ปัจจุบันมีหลักฐานว่าไม่น่าจะเก่ากว่าสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยอ้างอิงหลักฐานจากภาพจิตรกรรมการสร้างกระทงแบบต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3

ปัจจุบันวันลอยกระทงเป็นเทศกาลที่สำคัญของไทย ที่มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศมาเที่ยวปีละมากๆ ทั้งนี้ในช่วงเวลาดังกล่าวมักจะเป็นช่วงต้นฤดูหนาว และมีอากาศดีในวันลอยกระทง ยังนิยมจัดประกวดนางงาม เรียกว่า "นางนพมาศ"

ประเพณีลอยกระทงในแต่ละท้องถิ่น

ประเพณีในแต่ละท้องถิ่น

ภาคเหนือตอนบน นิยมทำโคมลอย เรียกว่า "ลอยโคม" หรือ "ว่าวฮม" หรือ "ว่าวควัน" ทำจากผ้าบางๆ แล้วสุมควันข้างใต้ให้ลอยขึ้นไปในอากาศอย่างบอลลูน ประเพณีของชาวเหนือนี้เรียกว่า "ยี่เป็ง" หมายถึงการทำบุญในวันเพ็ญเดือนยี่(ซึ่งนับวันตามแบบล้านนา ตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองในแบบไทย)

จังหวัดตาก จะลอยกระทงขนาดเล็กทยอยเรียงรายไปเป็นสาย เรียกว่า "กระทงสาย"

จังหวัดสุโขทัย ขบวนแห่โคมชักโคมแขวน การเล่นพลุตะไล ไฟพะเนียง

ภาคอีสาน จะตบแต่งเรือแล้วประดับไฟ เป็นรูปต่างๆ เรียกว่า "ไหลเรือไฟ"

กรุงเทพฯ จะมี งานภูเขาทอง เป็นรูปแบบงานวัด เฉลิมฉลองราว7-10วัน ก่อนงานลอยกระทง และจบลงในช่วงหลังวันลอยกระทง

ภาคใต้ อย่างที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลาก็มีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ นอกจากนั้น ในจังหวัดอื่นๆ ก็จะจัดงานวันลอยกระทงด้วยเช่นกัน นอกจากนี้ในแต่ละท้องถิ่นยังอาจมีประเพณีลอยกระทงที่แตกต่างกันไป และสืบทอดต่อกันเรื่อยมา

วันลอยกระทง

วันลอยกระทง
วันลอยกระทง เป็นวันสำคัญวันหนึ่งของชาวไทยส่วนใหญ่ ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ตามปฏิทินจันทรคติไทย หรือเดือนยี่ (เดือนที่ 2) ตามปฏิทินจันทรคติล้านนา "มักจะ" ตกอยู่ในราวเดือนพฤศจิกายน ตามปฏิทินสุริยคติ ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อพระแม่คงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ในวันลอยกระทง ผู้คนจะพากันทำ "กระทง" จากวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ตบแต่งเป็นรูปคล้ายดอกบัวบาน ปักธูปเทียน และนิยมตัดเล็บ เส้นผม หรือใส่เหรียญกษาปณ์ลงไปในกระทง แล้วนำไปลอยในสายน้ำ (ในพื้นที่ติดทะเล ก็นิยมลอยกระทงริมฝั่งทะเล) เชื่อว่าเป็นการลอยเคราะห์ไป นอกจากนี้ยังเชื่อว่าการลอยกระทง เป็นการบูชาพระแม่คงคาด้วย